วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โมฆะกรรม และ โมฆียะกรรม

โมฆะกรรม และ โมฆียะกรรม ต่างกันดังนี้

โมฆะกรรม
การกระทำที่เป็นการสูญเปล่า เสียเปล่า ไม่อาจบังคับกันได้ตามกฎหมาย
หรือสูญเปล่าตั้งแต่เริ่มแรก
ปพพ. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์) มาตรา ๑๗๒
โมฆะกรรม นั้น ไม่อาจ ให้สัตยาบัน แก่กันได้ และ ผู้มีส่วนได้เสีย คนหนึ่งคนใด จะยกความเสียเปล่า แห่งโมฆะกรรม ขึ้นกล่าวอ้าง ก็ได้
ถ้า จะต้องคืน ทรัพย์สิน อันเกิดจาก โมฆะกรรม ให้นำ บทบัญญัติว่าด้วย ลาภมิควรได้ แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับ
มาตรา ๑๗๒ โมฆะกรรม
มาตรา ๑๗๓ ส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นโมฆะ
มาตรา ๑๗๔ เข้าลักษณะนิติกรรมอย่างอื่น ที่ไม่เป็นโมฆะ


โมฆียะกรรม
การกระทำที่ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย จนกว่าจะถูกบอกล้าง
กฎหมายใช้คำว่า บอกล้าง เมื่อสัญญาถูกบอกล้าง ก็จะตกเป็นโมฆะ เพราะถูกบอกล้าง แต่ถ้ามีการแสดงเจตนารับรองการทำนิติกรรมสัญญา กฎหมายเรียกว่าการให้สัตยาบัน ก็จะทำให้ สัญญานั้นสมบูรณ์ ไม่อาจบอกล้างต่อไปได้
ปพพ. มาตรา ๑๗๖
ส่วน โมฆียะกรรม เมื่อ บอกล้างแล้ว ให้ถือว่า เป็นโมฆะ มาแต่เริ่มแรก และ ให้ผู้เป็นคู่กรณี กลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้า เป็นการพ้นวิสัย จะให้กลับคืน เช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับ ค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
ถ้า บุคคลใด ได้รู้ หรือ ควรจะได้รู้ว่า การใดเป็นโมฆียะ เมื่อ บอกล้างแล้ว ให้ถือว่า บุคคลนั้น ได้รู้ว่า การนั้นเป็นโมฆะ นับแต่วันที่ ได้รู้ หรือ ควรจะได้รู้ว่า เป็นโมฆียะ
ห้ามมิให้ ใช้สิทธิเรียกร้อง อันเกิดแต่ การกลับคืนสู่ ฐานะเดิม ตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่ วัน บอกล้างโมฆียะกรรม
มาตรา ๑๗๕ ผู้มีสิทธิบอกล้าง หรือ ให้สัตยาบัน แก่โมฆียะกรรม
มาตรา ๑๗๖ ผลของการบอกล้าง โมฆียะกรรม
มาตรา ๑๗๗ ผลของการให้สัตยาบัน แก่โมฆียะกรรม
มาตรา ๑๗๘ วิธีบอกล้าง หรือ ให้สัตยาบัน
มาตรา ๑๗๙ ระยะเวลาให้สัตยาบัน
มาตรา ๑๘๐ การให้สัตยาบันโดยปริยาย
มาตรา ๑๘๑ ระยะเวลาบอกล้าง โมฆียกรรม


โมฆะ หมายถึง นิติกรรมใดๆที่ทำนั้นเป็นอันเสียเปล่าตั้งแต่ต้น ผลก็คือ เสมือนว่าไม่เคยมีการทำนิติกรรมนั้นมาก่อน(นิติกรรม=สัญญาต่างๆ)
โมฆียะ หมายถึง การไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมต่างๆ โมฆียะนี้ให้ให้ผลสองทางคือ ยอมรับนิติกรรมนั้น หรือ ปฏิเสธนิติกรรมนั้น
๑. ยอมรับนิติกรรม ก็คือสัญญาต่างๆที่เป็นโมฆียะ และเรายอมรับหรือตกลงหรือยืนยังที่จะยังคงทำนิติกรรมนั้นต่อไป
๒. ปฏิเสธนิติกรรมนั้น ก็คือสัญญาต่างๆที่ไม่สมบูรณ์บางส่วน เมื่อเรารู้ถึงความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมนั้นเราจึงปฏิเสธไม่ยอมรับนิติกรรมนั้น ทำให้ผลกลายเป็นเสียเปล่า ผลข้อนี้จะเหมือนกับโมฆะ หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า เมื่อเราปฏิเสธผลนั้นก็จะกลายเป็นโมฆียะทันที


นิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือนิติกรรมที่ถือว่าไม่ได้มีอะไรกันมาตั้งแต่ต้น โดยหากเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาให้คืนกลับฐานนะเดิมเช่น สัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะก็คือไม่มีการทำสัญญากันเลย ให้ผู้ซื้อคืนทรัพย์ให้ผู้ขาย และให้ผู้ขายคืนราคาให้แก่ผู้ซื้อ คือถือว่าไม่ได้มีการทำสัญญากันเกิดขึ้นเลย และที่สำคัญคือนิติกรรมที่เป็นโมฆะจะไม่สามารถให้สัตยาบันได้ เช่นการทำนิติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย นิติกรรมที่พ้นวิสัย
นิติกรรมที่เป็นโมฆียะคือนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น สามารถให้สัตยาบัน หรือบอกล้างได้โดยผู้ที่มีอำนาจปกครองเช่นผู้ปกครองของผู้เยาว์ ผู้พิทักษ์ของผุ้เสมือนไร้ความสามารถ เช่นผู้เยาว์ทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองถือว่าเป็นโมฆียะ หากภายหลังผู้ปกครอง(พ่อ แม่) ทราบแล้วยอมให้สัตยาบันก็ถือว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาที่สมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น แต่ถ้าผู้ปกครองไม่ยินยอมก็จะบอกล้างสํญญานั้น ก็ถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะคือเสียมาตั้งแต่ต้น คนขายรถก็ต้องคืนเงิน ผู้เยาว์ก็ต้องเอารถไปคืน การทำนิติกรรมโดยสำคัญผิด ถูกข่มขู่ กลฉ้อฉลก็ถือว่าเป็นโมฆียะได้
มีอาจารย์บางท่านเปรียบเทียบคำว่าโมฆะเหมือนเมล็ดข้าวที่เสียแล้ว ไม่สามารถนำไปปลูกให้ขึ้นได้อีก ส่วนโมฆียะเสมือนเมล็ดข้าวที่แคระแกรน สามารถนำไปปลูกให้งอกเป็นต้นได้แต่ไม่สมบูรณ์ หากดูแลดีต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตดีคือการให้สัตยาบัน หากไม่ดูแลต้นข้าวก็จะตายก็คือการบอกล้างนั่นเอง


โมฆะกรรม หมายถึง นิติกรรมที่ทำขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นจึงไม่มีผลตามกฎหมาย เช่น สัญญาเงินกู้ที่มีการเก็บดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

โมฆียะกรรม หมายถึง นิติกรรมที่ทำโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย เช่น บุคคลไร้ความสามารถนิติกรรมนั้นจึงไม่สมบูรณ์ สามารถบอกล้างได้ เมื่อบอกล้างแล้วจึงกลายเป็นไม่มีผลตามกฎหมาย

1 ความคิดเห็น:

  1. ท่านทำหน้าเวปมาให้อ่านแต่เอาภาพมาบังทำให้อ่านไม่รู้เรื่องในส่วนที่ขาดหายไป. ท่านทำแบบนี้เพื่ออะไร....แทนที่ผู้อ่านจะได้ประโยชน์. ท่านได้กุศล กลับกลายเป็นอ่านแล้วไม่รู้เรื่องแล้วท่านหรือคนทั่วไปจะได้ประโยชน์ ...........อะไ

    ตอบลบ