วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กฎหมายมรดก

กฎหมายมรดก

มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่างๆ เช่นสิทธิตามสัญญาซื้อขาย สิทธิในการไถ่ถอนการขายฝาก เป็นต้น เมื่อบุคคลได้ถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินทุกอย่าง รวมทั้งที่มีในขณะนั้นถือว่าเป็นมรดกของบุคคลนั้นที่จะตกทอดไปยังลูกหลานหรือญาติสนิทที่เป็นทายาท เว้นแต่สิทธิบางอย่างซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะตัว ถือว่าสิทธินั้นเป็นอันสิ้นไปเมื่อบุคคลนั้นได้ตายไป ไม่ถือว่าเป็นมรดก
ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม
ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม คือ ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1.ทายาทโดยธรรม หรือเรียกว่าทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีความผูกพันกับผู้ตายโดยความเป็นญาติหรือคู่สมรสหรือเป็นบุตร ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ 6 ลำดับ ได้แก่
        ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม
        บิดามารดา
        พี่น้องร่วมบิดามารดา
        พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือมารดา
        ปู่ ย่า ตา ยาย
        ลุง ป้า น้า อา
2.ผู้รับพินัยกรรม หมายถึง ผู้ที่มีชื่อปรากฎในพินัยกรรมที่เจ้าของมรดกมีเจตนายกทรัพย์ให้ ในกรณีที่ผู้ตายประสงค์ที่จะให้ญาติของตนแต่ละคนได้รับมรดกในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน หรือต้องการให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติมามีส่วนรับมรดกของตน หรือไม่ต้องการให้ญาติของตนคนใดมารับมรดกของตัวเอง ทำได้โดยการทำพินัยกรรมระบุไว้ว่าจะยกทรัพย์สินใดให้แก่ใครบ้าง เป็นจำนวนเท่าไร ซึ่งผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนี้ เรียกว่า ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นวัด มูลนิธิ หรือโรงพยาบาลก็ได้
 
ในการทำพินัยกรรม จะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือพินัยกรรม ซึ่งมีแบบพิธีในการทำ 3 แบบดังนี้
1.พินัยกรรมธรรมดา เป็นหนังสือพินัยกรรมที่ลง วัน เดือน ปี ทีทำมีพยานรับรอง 2 คน และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงชื่อไว้ด้วย ถ้าลงเขียนหนังสือไม่ได้ให้ประทับตราหัวแม่มือขวาลงในพินัยกรรมแทนการลงชื่อ
2.พินัยกรรมเขียนเอง ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ แล้วลงชื่อ และวันเดือนปี ที่ทำพินัยกรรมด้วย
3.พินัยกรรมทำที่อำเภอ ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปหานายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขตให้ทำพินัยกรรมให้ และต้องลงชื่อไว้ในพินัยกรรมนั้นด้วยพร้อมพยานอีก 2 คน
ในการพินัยกรรมไม่ว่าจะเป็นแบบใดนั้น ผู้ทำพินัยกรรมจะสามารถยกเลิกเมื่อใดก็ได้ และพินัยกรรมจะมีผลใช้บังคับก็ต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายไปแล้วเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น